วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

Change/Reset Forgotten Password :: Linux Ubuntu

        สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน กลับมาเจอกันอีกครั้งนะคะ สำหรับวันนี้เราจะมาทำการรีวิวเกี่ยวกับการแก้ไข หรือ reset password ในกรณีที่เราลืมรหัสผ่านใน Ubuntu แล้วเข้าใช้งานไม่ได้ เรามาดูกันเลยว่าจะมีขั้นตอนการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ไปกันเล้ยยย.....

        ในขั้นตอนแรกให้เราเปิด Virtual Box ขึ้นมา แล้วดับเบิลคลิกเข้า Ubuntu เลย


         ต่อมา ให้เราเลือกที่ Advanced options for Ubuntu แล้วกด enter 


        ให้เราเลือกในรายการ recovery mode แล้วกด enter


        เลือกเข้ารายการ root แล้วกด enter จะขึ้นในส่วนของหน้า Terminal ที่ให้เราพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไป


        ให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# mount -o rw,remount / ลงไปใน Terminal แล้วกด enter


        จากนั้นให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# ls /home เพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ หรือ username ที่มีในระบบของเรา


        ต่อมาให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# passwd [user] เพื่อเลือก user ที่เราต้องการแก้ไขหรือรีเซ็ตรหัสผ่านใหม่
        ในที่นี้จะยกตัวอย่างเป็น ~# passwd ubuntu เนื่องจากมี user ชื่อ ubuntu อยู่ในเครื่องนั่นเอง


        จากนั้น Terminal จะแสดงข้อความ "Enter new UNIX password: " เพื่อให้เราตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานใหม่ ก็ให้เราพิมพ์รหัสผ่านใหม่ได้เลย เสร็จแล้วกด enter

        เมื่อใส่รหัสผ่านในรอบแรกเสร็จแล้วกด enter ในหน้า Terminal จะแสดงข้อความว่า "Retype new UNIX password: " เพื่อให้เรายืนยันรหัสผ่านที่ตั้งไปในครั้งแรกอีกครั้ง เสร็จแล้วกด enter

        ถ้าหากว่าการแก้ไขหรือรีเซ็ตรหัสผ่านเสร็จสิ้น Terminal จะแสดงข้อความว่า "passwd: password update successfully" เพื่อเป็นการยืนยันการรีเซ็ตรหัสผ่านที่เสร็จสมบูรณ์


        จากนั้นให้เราพิมพ์คำสั่ง ~# exit  เพื่อออกจากหน้า Terminal ไปยังหน้าหลักของเครื่องมือ


        ในหน้าหน้าเมนูให้เราเลือกรายการ resume เพื่อกลับไปยังการเข้าระบบแบบปกติ


        กด enter


        จะมีในส่วนที่ให้เรากรอก Username กับ Password ขึ้นมา ก็ให้เราทำการกรอกข้อมูลลงไปตามที่เราทำการรีเซ็ตไว้แล้วในเบื้องต้น


        ถ้าหากว่าเราทำการ Login หรือเข้าระบบได้สำเร็จ ก็จะปรากฎตามภาพด้านล่าง



        เป็นไงบ้างละคะสำหรับการรีเซ็ตรหัสผ่านของ Ubuntu ไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะคะ แค่ง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน แต่เมื่อเรารู้วิธีอย่างนี้แล้ว ก็ให้เราใช้ในทางที่ถูกต้องด้วยนะคะ จะได้ไม่ไปแอบเข้าเครื่องของใครคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เดี๋ยวจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์กัน ทำให้มีความผิดได้ นะจ๊าาาาาาา.....

=== หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ===

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับงานสำนักงาน

       สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ กลับมาเจอกันอีกครั้งนะคะสำหรับการรีวิวการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง ในครั้งก่อนนั้นเราได้ทำการประกอบเครื่องสำหรับโฮมออฟฟิตและเริ่มต้นเล่นเกมกันไปแล้วนะคะ สำหรับวันนี้เราจะมาประกอบเครื่องสำหรับงานประมวลผล แบบที่ 1 โดยอ้างอิงข้อมูลมาจาก "เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ณ วันที่ 11 มีนาคม 2559" >>> คลิก

      คุณลักษณะพื้นฐานของคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผล แบบที่ 1 มีรายละเอียด ดังนี้

เครื่องคอมพิวเตอร์สําหรับงานประมวลผล แบบที่ 1 

(จอขนาดไม่น้อยกว่า 18.5 นิ้ว) ราคา 22,000 บาท

คุณลักษณะพื้นฐาน

       - มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ไม่น้อยกว่า 4 แกนหลัก (4 core) หรือ 8 แกนเสมือน (8 Thread)
โดยมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานไม่น้อยกว่า 2.7 GHz จํานวน 1 หน่วย
       - หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีหน่วยความจําแบบ Cache Memory ขนาดไม่น้อยกว่า 6 MB
       - มีหน่วยประมวลผลเพื่อแสดงภาพ โดยมีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือดีกว่า ดังนี้
              1) เป็นแผงวงจรเพื่อแสดงภาพแยกจากแผงวงจรหลักที่มีหน่วยความจําขนาดไม่น้อยกว่า 1 GB                    หรือ
              2) มีหน่วยประมวลผลเพื่อแสดงภาพติดตั้งอยู่ภายในหน่วยประมวลผลกลาง แบบ Graphics
Processing Unit ที่สามารถใช้หน่วยความจําหลักในการแสดงภาพขนาดไม่น้อยกว่า 1 GB หรือ
              3) มีหน่วยประมวลผลเพื่อแสดงภาพติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก แบบ Onboard Graphics ที่มี
ความสามารถในการใช้หน่วยความจําหลักในการแสดงภาพขนาดไม่น้อยกว่า 1 GB
       - มีหน่วยความจําหลัก (RAM) ชนิด DDR3 หรือดีกว่า มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 GB
       - มีหน่วยจัดเก็บข้อมูล (Hard Drive) ชนิด SATA หรือดีกว่า ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 1 TB จํานวน
1 หน่วย
       - มี DVD-RW หรือดีกว่า จํานวน 1 หน่วย
       - มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface) แบบ 10/100/1000 Base-T หรือดีกว่า จํานวน
ไม่น้อยกว่า 1 ช่อง
       - มีแป้นพิมพ์และเมาส์
       - มีจอภาพแบบ LCD หรือดีกว่า มี Contrast Ratio ไม่น้อยกว่า 600 : 1 และมีขนาดไม่น้อยกว่า 18.5
นิ้ว จํานวน 1 หน่วย
*****************
       เมื่อเราทราบคุณลักษณะพื้นฐาน หรือความต้องการขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ชุดนี้กันไปแล้ว เราก็มาเริ่มการค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามความต้องการกันเล้ยยยยยยยย..........
       1. Case : สาเหตุที่เราเลือกเคสเป็นอันดับแรก เนื่องจากเคสจะต้องมีขนาดที่เหมาะกับพื้นที่หรือโต๊ะทำงานของเรา และเราก็จะได้เลือกดีไซน์ตามที่ใจเราชอบด้วย ในที่นี้เราจะขอเลือกเคสแบบ Mid Tower ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นขนาดมาตรฐานของเคสเลยก็ว่าได้ และมีขนาดที่พอดีไม่เล็กไม่ใหญ่ แถมยังเหมาะที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ 
           ขนาดของ Case จะถูกกำหนดโดยอุปกรณ์ประกอบที่ต้องการติดตั้ง เพื่อให้พอดีกับพื้นที่ภายใน 
รายการอุปกรณ์ประกอบหลักที่ส่งผลกระทบต่อ case แบบต่างๆ ที่สามารถใช้ได้ (ขนาด case ขั้นต่ำ) มีดังนี้:
            1. ความยาวของกราฟิกการ์ดที่ต้องการติดตั้ง
            2. ความสูงของ CPU Cooler
            3. ประเภทเมนบอร์ดที่กำลังมองหาในการติดตั้ง
           ขนาด Case ที่เลือกจะโยงไปถึงขนาด Motherboard ที่จะเลือกต่อไป Case จะบอกถึงว่าต้องเลือก Motherboard Form Factor แบบไหน แบบ ATX, Micro ATX หรือ mini-ITX
            ในที่นี้จะขอเลือกเป็น  COOLER MASTER Elite 311 (Black-Red) :: ราคา 990 บาท




       2. CPU : ในความต้องการพื้นฐานคือไม่ต่ำกว่า 4 core, Frequency ไม่น้อยกว่า 2.70 GHz และมีหน่วยความจำแบบ Cache Memory ไม่น้อยกว่า 6 MB
INTEL Core i5-4460 3.20 GHz :: ราคา 6,450 บาท


       3. Motherboard : ในการเลือกเมนบอร์ดนั้น เราต้องย้อนกลับไปดูด้วยว่าเคสที่เราเลือกมาสามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดรุ่นไหนได้บ้าง และความต้องการพื้นฐาน คือ มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface) แบบ 10/100/1000 Base-T หรือดีกว่า จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ช่อง
ASROCK H81M-VG4 :: ราคา 1,440 บาท




        4. RAM : เราต้องดูว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับแรมแบบไหน และความต้องการพื้นฐาน คือ เป็นชนิด DDR3 มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 GB
Apacer DDR3 4GB 1600 Armor Gold :: ราคา 1,050 บาท



        5. VGA : ความต้องการพื้นฐาน คือ มีหน่วยความจำขนาดไม่น้อยกว่า 1 GB
ASUS GTX950 OC :: ราคา 5,490 บาท




        6. HDD : เป็นชนิด SATA หรือดีกว่า ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 1 TB
SEAGATE SV35 1TB :: ราคา 1,990 บาท




       7. PSU : เราก็ต้องย้อนสามารถใส่เข้าไปในเคสได้มั้ย เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดได้หรือเปล่า การจ่ายไฟเพียงพอต่อความต้องการของอุปกรณ์แต่ละชิ้นไหม
RAIDMAX RX-450SS :: ราคา 870 บาท



       8. DVD-RW : 
DVD RW SATA 24X ASUS 24D5MT (Box) :: ราคา 495 บาท




       9. Monitor : ความต้องการพื้นฐาน คือ เป็นชนิด LCD หรือดีกว่า มี Contrast Ratio ไม่น้อยกว่า 600 : 1 และมีขนาดไม่น้อยกว่า 18.5 นิ้ว
LED 18.5'' ACER E1900HQ (B) :: ราคา 2,500 บาท



       10. Keyboard :

USB Keyboard LOGITECH (K120) Black :: ราคา 310 บาท




        11. Mouse :

USB Optical Mouse TRAGUS (AMU099AP) Black :: ราคา 280 บาท




       ก็ครบแล้วนะคะสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเรา พร้อมตรงกับความต้องการขั้นพื้นฐานด้วย ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 21,865 บาท เกือบถึง 22,000 พอดี ก็ถือว่าอยู่ในงบประมาณนะคะ

========================================
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

ติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual ฺBox

      สวัสดีเพื่อน ๆ วันนี้เราจะมารีวิวการลง Ubuntu Server จาก Virtual ฺBox นะคะ เรามาดูกันเลยว่ามันคือโปรแกรมอะไรและวิธีใช้งานเป็นยังไง ไปกันเล้ยยยย....


ทำไมต้องเป็น Ubuntu Server

       Ubuntu คือ ระบบปฏิบัติการณ์ชนิดหนึ่งคล้ายๆ กับ Windows แต่เป็นลิขสิทธิ์เปิด (Open Source) ที่ใครๆ ก็สามารถนำไปใช้ได้ในระบบ Linux Distribution โดยลักษณะที่โดดเด่นคือการใช้งานที่แตกต่างกันระหว่าง Ubuntu Server และ Ubuntu Desktop 
       Ubuntu Server คือ ลักษณะการทำงานโดยใช้คำสั่ง เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อเป็นเซิร์ฟเวอร์ให้บริการเว็บไซต์ และเครือข่าย
      Ubuntu Desktop คือ เป็นระบบ Graphic ลักษณะการใช้งานเหมือน Windows เหมาะกับงานทั่วไป 

Virtual machine คืออะไร?


อ้งอิง : http://cryptumlimited.com/services/service_specific/virtualization

      Virtual machine คือ ระบบปฏิบัติการที่ทำให้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อจำลองการทำงานของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เสมือนมีคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือมากกว่านั้น ซ้อนกันอยู่ในคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ถ้าให้พูดสั้น ๆ มันก็คือเครื่องคอมเสมือนนั่นเอง ซึ่งจะสามารถกำหนดขนาดของ harddisk, ram, cpu ได้ตอนสร้างเลย ซึ่งการกำหนดและจัดการทรัพยากรพวกนี้ก็จะเป็น Virtualization software ทั้งหลายแหล่ หนึ่งในนั้นก็คือ Virtual Box ที่เราจะทำการรีวิวในตอนนี้นั่นเองค่ะ

      Virtual Box โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่จำลองเครื่องของเราเป็น Virtual Machine ทำให้เราสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ หรือ OS ได้หลายตัวในเครื่องตัวเดียว สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้จากที่นี่เลยค่ะ Download Virtual Box จากนั้นก็ทำการติดตั้งลงเครื่องเลยนะคะ

       ไฟล์สำคัญที่เราต้องมีก็คือไฟล์ ubuntu.iso ที่เราจะทำการลงในเครื่องของเรา หากยังไม่มีสามารถดาวน์โหลดจากตรงนี้ได้เลย Download Ubuntu

        เมื่อเราเตรียมโปรแกรม เตรียมเครื่อง เตรียมไฟล์ที่จะลงไว้เรียบร้อยแล้ว ก็มาเริ่มลง Ubuntu Server  บน Virtual ฺBox กันเล้ยยยย

        อันดับแรกก็ให้เราเปิดโปรแกรม Virtual ฺBox ขึ้นมาและก็คลิกตรง New เลยนะคะ


     
        จะมีป๊อปอัพขึ้นมาดังภาพ ตรงช่อง Type ให้เราเลือกเป็น Linux  ในช่อง Version ให้เราเลือกเป็น Ubuntu และในช่อง Name ก็ตั้งชื่อเป็น Ubuntu หรือชื่ออะไรก็ได้ตามใจเราเลย เสร็จแล้วก็ให้คลิกตรงปุ่ม Next เลยนะคะ



         จากนั้นก็จะเป็นการกำหนดแรมนะคะ ซึ่งในเบื้องต้นโปรแกรมก็จะกำหนดมาให้แล้วเป็นอัตโนมัติ แต่เราก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ไม่ควรจะใช้เต็มนะคะ เพราะว่าถ้าหากเราใช้เต็มเมื่อไหร่ อาจจะส่งผลให้โปรแกรมหรือวินโดวส์เกิดอาการค้างขึ้นมาได้ เมื่อเลือกเสร็จแล้วก็คลิกตรงปุ่ม Next เลยค่ะ


         ต่อมาก็เป็นเรื่องของ Hard drive นะคะ ถ้าเราสร้าง partition  หรือ drive ไว้แล้ว ซึ่งเป็น drive ที่ว่างเปล่า เราก็สามารถใช้ได้เลย แต่ถ้าไม่มีนะคะ ให้เราเลือกติ๊กตรง Create a virtual hard drive now แล้วก็คลิกที่ปุ่ม Create เลยค่ะ


            ต่อมาก็จะเป็นการเลือกชนิดหรือประเภทของ drive นะคะ
                    โดยหลักๆ ที่แนะนำก็จะมี 2 แบบนะคะ แบบ VDI ใช้ได้กับ VirtualBox เท่านั้น ส่วน VMDK จะสามารถใช้ได้กับ VMWare ได้ด้วย ก็เลือกตามสะดวกเลยคะ แต่ตอนนี้ขอเลือกแบบ VDI ละกันนะคt เมื่อเลือกแล้วก็คลิกที่ปุ่ม Next เลยค่ะ



            ต่อมาจะเป็นการกำหนดพื้นที่ของ Hard Drive นะคะ จะมีให้เลือก 2 แบบ Dynamic และ Fixed โดยที่แบบ Dynamic จะเป็นการที่จะค่อย ๆ กำหนดพื้นที่เมื่อต้องการใช้งานจริง ไม่กำหนดครั้งเดียวทั้งหมดเหมือนแบบ Fixed ซึ่งแบบ Dynamic จะดีกว่านะคะ เพราะจะทำให้เราไม่ต้องกำหนดพื้นที่ทั้งหมดในครั้งเดียวทำให้เรายังคงใช้พื้นที่ส่วนนั่นทำอย่างอื่นได้อยู่นั่นเองค่ะ
            เสร็จแล้วก็คลิกตรงปุ่ม Next เลยค่ะ



           ต่อมาก็จะเป็นการตั้งชื่อและเลือกขนาดของ Hard Drive นะคะ เราจะสามารถเลื่อนสเกลเพื่อเลือกได้เลย ตรงนี้ก็จะขอเลือกเป็นขนาด 15 GB ละกันนะคะ
แล้วก็กดปุ่ม Create ได้เลยค่ะ


             มันก็จะเด้งกลับมาตรงหน้าจอ VirtualBox Manager อีกครั้งนะคะ ในหน้านี้เราก็จะสามารถดูได้ว่า Image ที่เราสร้างขึ้นมานั้นมีสเปคเป็นยังไงบ้าง



             เราก็มาเริ่มลง Ubuntu กันเลยนะคะ โดยให้กดที่ Start ตรงนี้นะคะ



               จากนั้นก็ติ๊กตรง Do not show the message again แล้วคลิก OK

               ต่อมาก็จะถามหาไฟล์ที่เราจะใช้ติดตั้ง ก็ให้เราไปเลือกไฟล์ ISO ที่เราเตรียมไว้ตั้งแต่ทีแรกเลยนะคะ ก็คลิกเลือก แล้วก็กด Open เลยค่ะ





      จากนั้นก็จะเป็นกระบวนการเริ่มติดตั้ง Ubuntu เลยนะคะ ก็ให้เราเลือกตั้งค่าภาษาที่เราจะใช้ คีย์บอร์ด ตั้งชื่อ รหัสผ่าน หรืออื่น ๆ ในขั้นตอนต่อจากนี้ได้เลยค่ะ

       เลือก Install Ubuntu Server แล้วกด enter



=== วีดีโอตัวอย่างการติดตั้ง Ubuntu Server ===


             สำหรับวันนี้ก็ขอจบการรีวิวไว้เพียงเท่านี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

**ข้อมูลเพิ่มเติม
        - http://hussainweb.me/install-ubuntu-server-14-04-virtualbox/
        - https://www.youtube.com/watch?v=MaAqAx77COM
        - https://www.youtube.com/watch?v=V_ZCJ3RTNH0

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประกอบคอมพิวเตอร์ใช้เอง (สำหรับโฮมออฟฟิตและเริ่มต้นเล่นเกม)

       สวัสดีค่ะ กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับวันนี้เราจะมาเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์ใช้เอง โดยเราจะประกอบเครื่องสำหรับสเปคใช้ในงานโฮมออฟฟิตทั่วไป ราคาไม่เกิน 17,500 บาท แล้วลองอัพเกรดเป็นสเปคสำหรับเริ่มต้นเล่นเกมแบบเบา ๆ ราคาไม่เกิน 21,000 บาท เรามาเริ่มกันเล้ยยยยย.....

        ในการประกอบคอมพิวเตอร์ใช้เองนั้น หลายคนอาจจะมีขั้นตอนลำดับการเลือกอุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะเลือกตามหลาย ๆ เว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์นอกอย่าง tomshardware หรือเว็บไซต์แบบไทย ๆ อย่าง notebookspec เป็นต้น หรือบางคนอาจจะไม่มีขั้นตอนอะไร ขอแค่อุปกรณ์ต่าง ๆ ซัปพอร์ดเข้ากันได้ แค่นั้น ...ก็อาจจะเป็นไปได้ 

       สำหรับวันนี้...เดี๋ยวเราจะมาใช้วิธีแบบผสมผสานกัน แบบสุดแต่ใจจะไขว่คว้าล่ะกันเนาะ แต่ก็จะใช้ตัวช่วยอย่าง notebookspec มาช่วยเลือกอุปกรณ์และราคาตามที่เราต้องการล่ะกัน
       โดยเราจะทำการเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
        1. Case : สาเหตุที่เราเลือกเคสเป็นอันดับแรก เนื่องจากเคสจะต้องมีขนาดที่เหมาะกับพื้นที่หรือโต๊ะทำงานของเรา และเราก็จะได้เลือกดีไซน์ตามที่ใจเราชอบด้วย ในที่นี้เราจะขอเลือกเคสแบบ Mid Tower ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นขนาดมาตรฐานของเคสเลยก็ว่าได้ และมีขนาดที่พอดีไม่เล็กไม่ใหญ่ แถมยังเหมาะที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ เคสที่เราเลือกมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังตาราง

                     COOLER MASTER Elite 311 (Black-Red) :: ราคา 990 บาท

       2. CPU : จุดประสงค์ของเราคือการใช้งานเบื้องต้นทั่วไป ยังไม่เน้นใช้งานหนัก ๆ อะไรมาก เราเลยเลือกซีพียูรุ่นที่พอใช้ได้ ดังตาราง

                     INTEL Core i3-4160 3.60 GHz :: ราคา 3,990 บาท


        3. Motherboard : ในการเลือกเมนบอร์ดนั้น เราต้องย้อนกลับไปดูด้วยว่าเคสที่เราเลือกมาสามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดรุ่นไหนได้บ้าง ในที่นี้เมนบอร์ดของเราเป็นประเภท mATX ซึ่งใช้ได้กับเคสที่เราเลือกคือ รองรับเมนบอร์ดประเภท mATX / ATX

                   ASROCK B85M-DGS :: ราคา 1,970 บาท


        4. RAM : เราต้องดูว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับแรมแบบไหน ในที่นี้เราเลือกรุ่นนี้เนื่องจากเมนบอร์ดจะรองรับแรมชนิด Dual Channel DDR3/DD3L 1600 ความจุแรมสูงสุด 16 GB นั่นเอง

                    Apacer DDR3 4GB 1600 Thunderbird Black :: ราคา 1,190 บาท

        5. VGA : ในจุดประสงค์ของเราเพื่อการใช้งานทั่วไป ก็ไม่ต้องเน้นการแสดงผลที่ดีอะไรมากมาย เพราะส่วนมากมักจะใช้ในงานที่ต้องการการแสดงผลที่มากกว่าการใช้งานทั่วไป เช่น การตัดต่อภาพยนตร์/วีดีโอ, งานด้านกราฟฟิค, เล่นเกม, หรือแม้แต่กระทั่งไว้สำหรับความบันเทิง เช่น สำหรับการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงและเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ที่มีสเปคสูง

                          POWER COLOR PCS+ R7 360 :: ราคา 3,850 บาท




        6. HDD : อุปกรณ์เก็บข้อมูล คิดว่าไม่น่าจะได้เก็บข้อมูลอะไรมากมาย 1TB ก็น่าจะเพียงพอต่อความต้องการ

                         Western Digital Green 1TB WD10EZRX :: ราคา 1,750 บาท



        7. PSU : เราก็ต้องย้อนสามารถใส่เข้าไปในเคสได้มั้ย เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดได้หรือเปล่า การจ่ายไฟเพียงพอต่อความต้องการของอุปกรณ์แต่ละชิ้นไหม

                        COUGAR ST 500W  :: ราคา 1,750 บาท


            สำหรับสเปกและราคาของอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยภาพรวมแล้ว จะเป็นดังภาพด้านล่างเล้ยยย


         ก็เสร็จเรียบร้อยกันไปแล้วนะคะ สำหรับสเปคคอมพิวเตอร์สำหรับโฮมออฟฟิต หรือใช้งานพื้นฐานทั่วไป ราคาไม่เกิน 17,500 บาท ต่อมา...ถ้าหากเราต้องการจะอัพเกรดจากสเปคพื้นฐาน ไปเป็นสเปคสำหรับเริ่มเล่นเกมมือใหม่ ในราคาไม่เกิน 21,000 บาท เรามาดูกันเลยล่ะกันว่าจะอัพเกรดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นไหนกันบ้าง

          อันดับแรก เรามาทำการอัพเกรดเจ้าซีพียูกันเลยล่ะกัน จะได้เพิ่มความเร็ว แรง ลื่น ขึ้นมาบ้าง โดยจากเดิมเป็น INTEL Core i3-4160 3.60 GHz เปลี่ยนเป็น INTEL Core i5-4590 3.30 GHz 

                   INTEL Core i5-4590 3.30 GHz :: ราคา 7,150 บาท


           ต่อมา...เราก็มาทำการอัพเกรดแรม โดยจากเดิมเป็น Apacer DDR3 4GB 1600 Thunderbird Black เปลี่ยนเป็น APACER DDR3 8GB 1600 Armor Black

                    APACER DDR3 8GB 1600 Armor Black  :: ราคา 1,550 บาท

             และสุดท้าย VGA เพื่อการมองเห็นของเราจะได้คมชัด สมจริง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากเดิมคือ POWER COLOR PCS+ R7 360 เปลี่ยนมาเป็น GIGABYTE GTX950 OC 

                    GIGABYTE GTX950 OC  :: ราคา 5,850 บาท

                    สเปกและราคาของอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยภาพรวมแล้ว จะเป็นดังภาพด้านล่าง


             เสร็จเรียบร้อยกันไปแล้วนะคะ สำหรับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเริ่มเล่นเกม ราคาอาจจะขาดหรือเกินบ้างเล็กน้อย...ก็คงไม่เป็นไร อิอิ
              
        เนื่องจากยังเป็นมือใหม่ (มาก ๆ) หากมีผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย