วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประกอบคอมพิวเตอร์ใช้เอง (สำหรับโฮมออฟฟิตและเริ่มต้นเล่นเกม)

       สวัสดีค่ะ กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับวันนี้เราจะมาเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์ใช้เอง โดยเราจะประกอบเครื่องสำหรับสเปคใช้ในงานโฮมออฟฟิตทั่วไป ราคาไม่เกิน 17,500 บาท แล้วลองอัพเกรดเป็นสเปคสำหรับเริ่มต้นเล่นเกมแบบเบา ๆ ราคาไม่เกิน 21,000 บาท เรามาเริ่มกันเล้ยยยยย.....

        ในการประกอบคอมพิวเตอร์ใช้เองนั้น หลายคนอาจจะมีขั้นตอนลำดับการเลือกอุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะเลือกตามหลาย ๆ เว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์นอกอย่าง tomshardware หรือเว็บไซต์แบบไทย ๆ อย่าง notebookspec เป็นต้น หรือบางคนอาจจะไม่มีขั้นตอนอะไร ขอแค่อุปกรณ์ต่าง ๆ ซัปพอร์ดเข้ากันได้ แค่นั้น ...ก็อาจจะเป็นไปได้ 

       สำหรับวันนี้...เดี๋ยวเราจะมาใช้วิธีแบบผสมผสานกัน แบบสุดแต่ใจจะไขว่คว้าล่ะกันเนาะ แต่ก็จะใช้ตัวช่วยอย่าง notebookspec มาช่วยเลือกอุปกรณ์และราคาตามที่เราต้องการล่ะกัน
       โดยเราจะทำการเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
        1. Case : สาเหตุที่เราเลือกเคสเป็นอันดับแรก เนื่องจากเคสจะต้องมีขนาดที่เหมาะกับพื้นที่หรือโต๊ะทำงานของเรา และเราก็จะได้เลือกดีไซน์ตามที่ใจเราชอบด้วย ในที่นี้เราจะขอเลือกเคสแบบ Mid Tower ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นขนาดมาตรฐานของเคสเลยก็ว่าได้ และมีขนาดที่พอดีไม่เล็กไม่ใหญ่ แถมยังเหมาะที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ เคสที่เราเลือกมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังตาราง

                     COOLER MASTER Elite 311 (Black-Red) :: ราคา 990 บาท

       2. CPU : จุดประสงค์ของเราคือการใช้งานเบื้องต้นทั่วไป ยังไม่เน้นใช้งานหนัก ๆ อะไรมาก เราเลยเลือกซีพียูรุ่นที่พอใช้ได้ ดังตาราง

                     INTEL Core i3-4160 3.60 GHz :: ราคา 3,990 บาท


        3. Motherboard : ในการเลือกเมนบอร์ดนั้น เราต้องย้อนกลับไปดูด้วยว่าเคสที่เราเลือกมาสามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดรุ่นไหนได้บ้าง ในที่นี้เมนบอร์ดของเราเป็นประเภท mATX ซึ่งใช้ได้กับเคสที่เราเลือกคือ รองรับเมนบอร์ดประเภท mATX / ATX

                   ASROCK B85M-DGS :: ราคา 1,970 บาท


        4. RAM : เราต้องดูว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับแรมแบบไหน ในที่นี้เราเลือกรุ่นนี้เนื่องจากเมนบอร์ดจะรองรับแรมชนิด Dual Channel DDR3/DD3L 1600 ความจุแรมสูงสุด 16 GB นั่นเอง

                    Apacer DDR3 4GB 1600 Thunderbird Black :: ราคา 1,190 บาท

        5. VGA : ในจุดประสงค์ของเราเพื่อการใช้งานทั่วไป ก็ไม่ต้องเน้นการแสดงผลที่ดีอะไรมากมาย เพราะส่วนมากมักจะใช้ในงานที่ต้องการการแสดงผลที่มากกว่าการใช้งานทั่วไป เช่น การตัดต่อภาพยนตร์/วีดีโอ, งานด้านกราฟฟิค, เล่นเกม, หรือแม้แต่กระทั่งไว้สำหรับความบันเทิง เช่น สำหรับการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงและเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ที่มีสเปคสูง

                          POWER COLOR PCS+ R7 360 :: ราคา 3,850 บาท




        6. HDD : อุปกรณ์เก็บข้อมูล คิดว่าไม่น่าจะได้เก็บข้อมูลอะไรมากมาย 1TB ก็น่าจะเพียงพอต่อความต้องการ

                         Western Digital Green 1TB WD10EZRX :: ราคา 1,750 บาท



        7. PSU : เราก็ต้องย้อนสามารถใส่เข้าไปในเคสได้มั้ย เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดได้หรือเปล่า การจ่ายไฟเพียงพอต่อความต้องการของอุปกรณ์แต่ละชิ้นไหม

                        COUGAR ST 500W  :: ราคา 1,750 บาท


            สำหรับสเปกและราคาของอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยภาพรวมแล้ว จะเป็นดังภาพด้านล่างเล้ยยย


         ก็เสร็จเรียบร้อยกันไปแล้วนะคะ สำหรับสเปคคอมพิวเตอร์สำหรับโฮมออฟฟิต หรือใช้งานพื้นฐานทั่วไป ราคาไม่เกิน 17,500 บาท ต่อมา...ถ้าหากเราต้องการจะอัพเกรดจากสเปคพื้นฐาน ไปเป็นสเปคสำหรับเริ่มเล่นเกมมือใหม่ ในราคาไม่เกิน 21,000 บาท เรามาดูกันเลยล่ะกันว่าจะอัพเกรดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นไหนกันบ้าง

          อันดับแรก เรามาทำการอัพเกรดเจ้าซีพียูกันเลยล่ะกัน จะได้เพิ่มความเร็ว แรง ลื่น ขึ้นมาบ้าง โดยจากเดิมเป็น INTEL Core i3-4160 3.60 GHz เปลี่ยนเป็น INTEL Core i5-4590 3.30 GHz 

                   INTEL Core i5-4590 3.30 GHz :: ราคา 7,150 บาท


           ต่อมา...เราก็มาทำการอัพเกรดแรม โดยจากเดิมเป็น Apacer DDR3 4GB 1600 Thunderbird Black เปลี่ยนเป็น APACER DDR3 8GB 1600 Armor Black

                    APACER DDR3 8GB 1600 Armor Black  :: ราคา 1,550 บาท

             และสุดท้าย VGA เพื่อการมองเห็นของเราจะได้คมชัด สมจริง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากเดิมคือ POWER COLOR PCS+ R7 360 เปลี่ยนมาเป็น GIGABYTE GTX950 OC 

                    GIGABYTE GTX950 OC  :: ราคา 5,850 บาท

                    สเปกและราคาของอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยภาพรวมแล้ว จะเป็นดังภาพด้านล่าง


             เสร็จเรียบร้อยกันไปแล้วนะคะ สำหรับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเริ่มเล่นเกม ราคาอาจจะขาดหรือเกินบ้างเล็กน้อย...ก็คงไม่เป็นไร อิอิ
              
        เนื่องจากยังเป็นมือใหม่ (มาก ๆ) หากมีผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

How does a computer work ?

         สวัสดีเพื่อน ๆ ...กลับมาเจอกันอีกแล้ว (เจอบ๊อยยยยบ่อย 555++) สำหรับวันนี้ เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ "กระบวนการเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์" ตั้งแต่เริ่มแรกจากเรากดปุ่ม Power ที่หน้าเคส ไปจนถึงการเข้าระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System) ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่พร่ำเพลื่ออะไรมาก...ไปดูกันเลยล่ะกัน >>>>

        ก่อนอื่น...เราก็มาดูกระบวนการตั้งแต่เมื่อเรากดปุ่ม Power switch ก่อนเลย ว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ จะประสานการทำงานกันอย่างไร

แผนผังกระบวนการเริ่มต้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

กระบวนการ Powering on the computer

      1. กดปุ่ม Power Switch ที่เคสหน้าเครื่อง
      2. เป็นการส่งผลให้พิน PS_ON บนตำแหน่ง Panel 1 หรือ Front panel connector ซึ่งเป็นไฟแรงดันขนาด 3 โวลต์ ช็อตลงกราวด์
ตำแหน่ง Front panel connector และ ATX Power Connector บนเมานบอร์ด
      3. ส่งต่อไปยังพิน PS_ON บนตำแหน่ง ATX1 หรือ ATX Power Connector ซึ่งเป็นไฟแรงดันขนาด 5 โวลต์ ช็อตลงกราวด์
      4. Power Supply เริ่มการทำงาน ซึ่งจะทำการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC: Alternating Current) ไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC: Direct Current) เพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยปริมาณแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม
             เมื่อคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบต่าง ๆ ได้รับพลังงานที่เพียงพอ และแหล่งจ่ายไฟไม่มีข้อผิดพลาดก็จะส่งสัญญาณ (โดยใช้ทรานซิสเตอร์) ไปยังเมนบอร์ดและซีพียู
      5. เมื่อซีพียูเริ่มทำงาน ซีพียูจะล้างข้อมูลในหน่วยความจำภายในซีพียู หรือที่เรียกกันว่า รีจิสเตอร์ (register) ให้ว่างเปล่า
      6. จากนั้นกำหนดให้ริจิสเตอร์ตัวหนึ่งที่ชื่อว่า program counter มีค่าแอสเดรสหรือตำแหน่งที่เลขฐานสิบหกที่ F000 ซึ่งเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของโปรแกรมบูต (program counter ทำหน้าที่จดจำหมายเลขหน่วยความจำที่จะทำการดึงคำสั่งโปรแกรมขึ้นมาทำงาน)
      7. ซีพียูจะทำการประมวลผลคำสั่งที่อยู่ในไบออส (BIOS: Basic Input Output System) ต่อไป


      ขั้นตอนต่อมาจะเป็นกระบวนการของการ POST ..... เรามาดูกันเลยว่ามีกระบวนการอย่างไร

               กระบวนการ POST คือ การตรวจสอบความพร้อมของระบบโดยรวมของตัวเมนบอร์ดและอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบ ก่อนที่จะทำการเริ่มระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะดำเนินการโดยทันทีเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนี้

กระบวนการ POST
จากแผงผัง จะสามารถอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
=== เริ่มแรก...จาก BIOS ดำเนินกระบวนการ
            ถ้าตรวจพบความผิดปกติของอุปกรณ์ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม จะไม่สามารถเริ่มระบบปฏิบัติการได้ และจะแจ้งเตือนเป็นรหัสเสียง (Beep code) แบบต่าง ๆ ออกมา เพื่อให้ทราบสาเหตุ
 (ความหมายของเสียง Beep code >>> เสียงบี๊บ Beep Code มีความหมายอย่างไร )

            ถ้าคอมพิวเตอร์ผ่านการ POST ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST นี้ จะถูกนำมาตรวจสอบ (inspecting) และเปรียบเทียบ (comparing) กับข้อมูลที่อยู่ใน CMOS ระหว่างค่าระบบที่เราตั้งไว้กับสิ่งที่ติดตั้งจริงในคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น

            ซึ่งถ้าถูกต้องตรงกันหรือไม่พบข้อผิดพลาดก็จะโหลดโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์พื้นฐาน (Basic device drivers) และตัวจัดการขัดจังหวะ (interrupt handlers) สำหรับฮาร์ดแวร์ เช่น hard drive, keyboard, mouse, floppy drive ซึ่งไดรเวอร์พื้นฐานเหล่านี้ช่วยให้ซีพียูสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินกระบวนการบู๊ตต่อไปได้

                *** (ข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า configuration จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า CMOS : complementary metal oxide semiconductor ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยในการหล่อเลี้ยง โดยใช้แบตเตอรี่ตัวเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องสามารถจำค่าต่าง ๆ ไว้ได้ เช่น เวลาระบบ วันที่ และข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์)

            ต่อมา กระบวนการ POST จะตรวจสอบ RTC (real-time clock) หรือ system timer และระบบบัสคอมพิวเตอร์ (computer system bus) เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองอย่างนี้ทำงานอย่างเหมาะสมบนเครื่องคอมพิวเตอร์

            ต่อมา BIOS จะทำการตรวจสอบเพื่อดูว่าการทำงานของมันจะเป็น Cold boot หรือ Warm boot (Reboot) โดยดูที่ตำแหน่ง memory address 0000:0472
            ถ้าเป็น 1234h à BIOS จะรู้ว่านี่คือการ Reboot และจะข้ามขั้นตอนของการ POST ที่เหลือไป
            ถ้าไม่เห็น 1234h  à  BIOS จะรู้ว่านี่คือ Cold boot และจะทำงานต่อไปตามขั้นตอนการ POST เพิ่มเติม

            ถัดไปก็จะทดสอบ Computer memory (RAM) ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์ โดยการเขียนลงในแต่ละชิป

            สุดท้าย... กระบวนการ POST จะส่งสัญญาณไปยัง floppy, optical, และ hard drive เพื่อทำการทดสอบ

            หากไดรฟ์ทั้งหมดผ่านการทดสอบ กระบวนการ POST ก็จะเสร็จสมบูรณ์ และสั่งคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นกระบวนการของการโหลดระบบปฏิบัติการต่อไป

Booting the operating system

หลังจากคอมพิวเตอร์ผ่านกระบวนการ POST คอมพิวเตอร์ก็จะเริ่มต้นกระบวนการของการโหลดระบบปฏิบัติการ à BIOS จะพยายามบู๊ตจากอุปกรณ์ตัวแรกที่ระบุไว้ในลำดับการบู๊ต (boot order) หากไม่สามารถบู๊ตได้ BIOS จะบู๊ตจากอุปกรณ์ที่ในลำดับที่สองและอื่น ๆ ต่อไป

การเริ่มต้นระบบปฏิบัติการใหม่นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทก็คือ
1.       โคลด์บูต (Cold Boot) ซึ่งเป็นการเปิดเครื่องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด
คือ การเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมด ด้วยวิธีการกดปุ่มเปิดเครื่องอีกครั้งหลังจากที่ปิดไปแล้ว เพื่อโหลดระบบปฏิบัติการและข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นทั้งหมดเข้าสู่หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงาน
2.       วอร์มบูต (Warm Boot) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นระบบแค่บางส่วนหรือที่เรียกกันว่า Re-Start
วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า restart  โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
·       กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
·       กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.computerhope.com/issues/ch001263.htm

******************************************************************
หากผิดพลาดประการใด ก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

สำหรับวันนี้....ก็มีสาระความรู้มาฝากเพื่อน ๆ แต่เพียงเท่านี้ ไว้เจอกันใหม่คราวหน้า 
บ๊ะบายยยย...... ^^

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ถอด/ประกอบคอมพิวเตอร์ ออนเครื่องนอกเคส วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าสาย P1


        สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน...วันนี้เราจะมาทำหลาย ๆ อย่างเลยล่ะ นั่นคือ การรื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดออกจากเคสเพื่อมารีวิวและบันทึกรายละเอียด---สลับเครื่องกับเพื่อน---ทำการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าสาย ATX Power Connector หรือ สาย P1---เปิิด/ปิดเครื่องจาก Mainboard หรือ ออนเครื่องนอกเคส---และสุดท้าย การประกอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้าเคสเหมือนเดิม ทั้งหมดนี้ต้องทำภายในเวลาที่จำกัด ผลจะเป็นยังไงนั้น ไปดูในวีดีโอกันเล้ยยยยย......



        หมายเหตุ : ประโยชน์ของการเปิดเครื่องจาก PIN Panel บน Mainboard โดยตรง คือ ทำให้สะดวกในการทดสอบ ซ่อม เปลี่ยน เมนบอร์ดหรืออุปกรณ์ประกอบต่างได้สะดวกยิ่งขึ้นนั่นเอง


--- ไว้เจอกันคราวหน้าจะพยายามแก้ไข ปรับปรุง ให้ดีขึ้นกว่าเดิม...นะค้าาาา ---