วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ power supply connector

       
            สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวไอที กลับมาเจอกันอีกครั้ง กับการรีวิวเรื่องไอที้ ... ไอที สำหรับวันนี้เราจะมาทำการรีวิวเกี่ยวกับการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ power supply connector เราก็จะเน้นไปที่สายหลัก ๆ เลย นั่นก็คือ สาย P1 นั่นเอง เราจะมาดูว่าค่าที่เราวัดได้จะตรงกับค่ามาตรฐานที่เขามีมาหรือเปล่า ไปดูกันเล้ยยยย Let's GO.....

อันดับแรกเนาะ...เราก็มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ power supply กันก่อนเลยว่า...มันคืออะไร???
power supply

             Power supply ของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสกลับ 220 โวลต์ (ACV )  เป็นกระแสตรง ( DCV ) 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละตัว เพื่อใช้ในการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์

หน้าที่และการทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
          กระแสไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านมาจากโรงไฟฟ้าโดยอยู่ในรูปแบบของไฟสลับแรงดันสูง 220 โวลต์ในบ้าน แต่กระแสไฟที่อุปกรณ์ทุกชนิดที่คอมพิวเตอร์ใช้ (และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทุกชนิด) จะต้องเป็นไฟตรงแรงดังต่ำ หน้าที่ของเพาเวอร์ซัพพลายก็คือจะต้องแปลงไฟสลับแรงดันสูง ให้เป็นไฟตรงแรงดันต่ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องการรวมทั้งจะต้องมีไฟพิเศษและสัญญาณต่าง ๆ

         และเมื่อเรารู้ข้อมูลอย่างคร่าว ๆ ของ power supply กันไปแล้ว ต่อมาเราก็จะเจาะลึกลงไปอีก คือ ใน power supply จะมีสาย connector ต่าง ๆ ซึ่งแต่ล่ะสายก็จะทำหน้าที่จ่ายไฟไปในอุปกรณ์ที่ต่างกัน ดังภาพ
สาย Connector
(อ้างอิง : http://www.plinkusa.net/webps575x.htm)

          และในวันนี้เราก็จะมาทำการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของสาย Connector P1 ซึ่งเป็นสาย ATX Power Connector (20 + 4 Pin) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสายหลัก ๆ ของ power supply เลยก็ว่าได้
ค่าความต่างศักย์แต่ละพินของสาย ATX Power Connector
(อ้างอิง : http://makezine.com/projects/computer-power-supply-to-bench-power-supply-adapter/)

           สำหรับอุปกรณ์วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านั้น ทุกคนคงทราบกันดี คือ "มัลติมิเตอร์ (Multimeter)" ซึ่งเราจะใช้แบบที่ดูได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เรียกว่า มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter, DMM) หรือ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters) นั่นเอง

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters)

ลักษณะทั่วไปของมัลติมิเตอร์ คือ
        สายวัดมิเตอร์(โพรบ) สีแดงเป็นบวก (+) และสีดำเป็นลบ (-)

การวัดค่าความต่างศักย์ของ Power supply connector

      ก่อนจะทำอะไร ก่อนอื่นเราก็ต้องเปิด Datasheet ก่อนเลย เพื่อความชัวร์ ๆ
Datasheet เกี่ยวกับ power supply connector

      1. ถอด Connector ทุกตัวจากอุปกรณ์ต่างๆ ออก  จะได้ทำการวัดได้สะดวก
      2. ใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้าพินที่ 14 และ 15 หรือสีเขียวกับสีดำที่อยู่ติดกัน (Power switch ON) ดังภาพ

      3. นำสายวัดมิเตอร์สีดำ (-) ต่อลง Ground (กราวด์หรือพินสีดำ) หรืออาจเสียบลงน็อตยึดตัวเคสของ Power supply ก็ได้ เพื่อที่จะสะดวกต่อการวัด ไม่ต้องคอยจับทั้งสองสายวัดพร้อมกัน ดังภาพ 

      4. ปรับค่าพิสัยหรือสเกลวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่แรงดัน DCV  โดยเลือกย่านวัดไปที่ค่าที่สูงกว่าค่าที่เราจะวัด ในที่นี้เราจะปรับไปที่แรงดัน DC 20V เนื่องจากค่าที่มาตรฐานเราวัดจะไม่เกิน 20V ดังนี้
สีของ Pin
Signal
สีม่วง
+5V
สีแดง
+5v
สีเหลือง
+12v
สีส้ม
+3.3 v
สีน้ำเงิน
-12 v


ปรับค่าพิสัยไปที่แรงดัน DC 20V

      5. เสียบปลั๊กไฟ (หรืออาจจะเสียบตั้งแต่ในขั้นตอนที่ 2 ก็ได้ แต่ที่แนะนำให้เสียบในขั้นตอนนี้ก็เพื่อความสบายใจ อิอิ)
ลักษณะการต่ออุปกรณ์การวัดค่าความต่างศักย์

      6. ใช้สายสีแดงแตะหรือเสียบเข้ากับพินที่ต้องการตรวจวัดได้เลย

      7. ค่าที่วัดได้ก็อาจจะคลาดเคลื่อนจากเดิมได้บ้าง ดังตาราง

ค่าที่เราวัดได้จริง
Color
Signal
Pin
Pin
Signal
Color
ค่าที่เราวัดได้จริง
+ 3.39 V
Orange
+ 3.3 V
1
11
+ 3.3 V
Orange
+ 3.39 V
+ 3.40 V
Orange
+ 3.3 V
2
12
- 12 V
Blue
- 10.60 V
Ground
Black
Ground
3
13
Ground
Black
Ground
+ 5.19 V
Red
+ 5 V
4
14
Power on
Green
Power on
Ground
Black
Ground
5
15
Ground
Black
Ground
+ 5.20 V
Red
+ 5 V
6
16
Ground
Black
Ground
Ground
Black
Ground
7
17
Ground
Black
Ground
+ 5.16 V
Grey
8
18
Reserved
N/C

+ 5.19 V
Purple
+ 5 V standby
9
19
+ 5 V
Red
+ 5.18 V
+ 11.71 V
Yellow
+ 12 V
10
20
+ 5 V
Red
+ 5.19 V

  
วีดีโอประกอบการวัดค่าความต่างศักย์ของแต่ละพิน




ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ power supply connector
     - http://www.technologyuk.net/computing/computer_systems/power_supply_unit.shtml
     - http://www.buildcomputers.net/power-supply-connectors.html
     - http://www.playtool.com/pages/psuconnectors/connectors.html#floppy

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard

        โหล ๆ หวัดดีเพื่อน ๆ ชาวไอที กลับมาอีกครั้ง บทความที่แล้วเราก็ได้ทำการเปลี่ยนพัดลม power supply กันไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาทำอะไรอีกน้าาาา... ติ๊กต๊อก ๆ เฉลยเลยล่ะกัน สำหรับวันนี้เราจะมาทำการรีวิวเกี่ยวกับการเปิด/ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จากเมนบอร์ด หรือเปิดโดยไม่มีเคส หากว่าสักวัน -->> สวิซต์เปิด/ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อน ๆ เสีย หรือเพื่อน ๆ  จะประกอบคอมใช้เอง พอซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาครบหมดแล้ว แต่ยังไม่ตกลงปลงใจเลือกเคสได้ หรือลืม!! ซื้อเคสมาซะงั้น (คนอะไรลืมซื้อเคสมาด้วย 555++) เราก็จะมีวิธีต่อลอย โดยไม่มีเคส แต่ ๆ .... จะเปิดเครื่องยังไงล่ะ ไม่มีปุ่มสวิซต์เปิด/ปิดนี่หน่า ?????
        เรามาดูวิธีเปิดเครื่องจากเมนบอร์ดกันเลยดีกว่าาาา Let's GO

Front Panel Connector


          อันดับแรก...เราก็ประกอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกอย่าง ต่อสายทุกสายเหมือนตอนที่มีเคสอยู่ด้วยก่อนเลยเน้ออออ



          ต่อมาให้เราดูคู่มือเมนบอร์ด (Datasheet) ของชนิดและรุ่นที่เราใช้ต่ออยู่ ให้เราไปดูที่หัวข้อ Front Panel connector เพราะว่าเราจะทำการเปิด

1. การเปิดเครื่อง
          ใช้ตัวนำไฟฟ้า อาจจะเป็นปลายไขควงหรือกุญแจจิ้มค้างไว้พินที่ 6 กับ 8 ซึ่งเป็นพิน Power Switch ของ Front Panel connector ค้างไว้สักพักเครื่องก็จะติดขึ้นมาทันที


2. รีเซ็ตเครื่อง
          สามารถทำได้คล้ายกับการเปิดเครื่อง แต่จะเปลี่ยนพินมาเป็นพินที่ 5 กับ 7 ซึ่งเป็นพิน Reset Switch

3. การปิดเครื่อง
          สามารถทำได้โดยวิธีการเดียวกันกับการเปืดเครื่องได้เลย




     เรามาดูวีดีโอสาธิตกันเลยดีกว่า ...


หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

หมายเหตุ :
      *** การกระทำการทุกอย่างต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างสูง
      *** ควรระมัดระวังอย่าวางเมนบอร์ดไว้บนตัวนำไฟฟ้า เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าเกิดลัดวงจร
      *** Front Panel connector จะอยู่ในเมนบอร์ด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวๆขึ้นมาจากเมนบอร์ด



วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เปลี่ยนพัดลม Power Supply

           สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวไอทีทู้กกกกกคน หลังจากบทความที่ผ่านมาเราได้ทำการ แกะ งัด แงะ...กระทำการต่าง ๆ นา ๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี เพื่อมารีวิวอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องให้เพื่อน ๆ ได้ดูกันไปแล้วนั้น --->> ยังไม่พอนะ มันยังไม่จบแต่เพียงเท่านั้น วันนี้...เราจะมาทำการเปลี่ยนพัดลมของ Power supply (ลองเปลี่ยนสลับกับของอีกเครื่อง) กัน หากว่าสักวันพัดลมของเราจะมีปัญหา อุ๊ปปป...นี่เจ้าของบทความไม่ได้แช่งให้ของเพื่อน ๆ มีปัญหานะ กริกริ ^_^ ^_^ พรรณามาเยอะแล้ว เราไปลุยกันเลยดีกว่า.... Let's GO.....

อันดับแรกเลย...เราก็มาจัดการเอาเจ้าตัว power supply ออกมาก่อนเลยล่ะกัน





สำหรับอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเปลี่ยนพัดลม power supply คือ 
       1. หัวแร้ง 
       2. ตะกั่วบัดกรี และ
       3. กระบอกดูดตะกั่ว

เริ่มทำการเปลี่ยนกันเลยดีกว่า.....
          ขั้นตอนแรกเลย เราต้องทำการหลอมละลายตะกั่วเพื่อถอดสายไฟออกจากแผงวงจร โดยการใช้หัวแร้งจี้ตะกั่วที่แผงวงจรให้ร้อน ให้ตะกั่วหลอมละลาย แล้วใช้ตัวดูดตะกั่วดูดออก เพื่อให้สายไฟหลุดออกจากแผงวงจร

          ก่อนจะดึงสายไฟออกจากแผงวงจร ก็อย่าลืมจำตำแหน่งให้ดี ๆ ด้วยล่ะ เวลาต่อจะได้ไม่ลัดวงจร
---- ป.ล. สายสีดำ (-) อยู่ข้างใน สายสีแดง (+) อยู่ข้างนอก นะแจ๊ะ ----

ในอีกมุมหนึ่ง... จำให้ดี ๆ 


          หากสายไฟที่เราจะดึงออกมามีที่รัดสายสายไฟอยู่ ซึ่งจะทำให้เราเปลี่ยนพัดลมไม่สะดวก เราก็หาอุปกรณ์มีคม เช่น กรรไกรตัดลม คัตเตอร์ มาตัดที่รัดสายไฟออกก่อน ค่อยดึงพัดลมออกมา

          ขัดน๊อตพัดลมเพื่อเอาพัดลมออกมาจาก power supply

          จากนั้นเราก็ทำการเปลี่ยนพัดลมได้เลย เมื่อเราจะนำสายไฟของพัดลมตัวใหม่มาเชื่อมเข้ากับแผงวงจร ก็ให้ทำในลักษณะคล้ายกับตอนที่เอาสายไฟออกจากแผงวงจร เพียงแต่เราต้องใช้ตะกั่วบัดกรีเชื่อมเข้าไปด้วย โดยการใช้หัวแร้งจี้ที่ตะกั่วบัดกรีให้ละลายเพื่อให้สายไฟเชื่อมเข้ากับแผงวงจร จะเชื่อมสายสีดำหรือแดงก่อนก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ชนหรือติดกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ลัดวงจร


ย้ำ !!! ว่าต้องไม่ติดกัน นะแจ๊ะ....



          เมื่อทำการเชื่อมสายไฟเข้ากับแผงวงจรเสร็จ จะมีวิธีทดสอบ power supply คือ การใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้าพินที่ 14 และพินที่ 15 หรือสายสีดำและเขียวที่อยู่ติดกัน ดังภาพ

(อ้างอิง : http://www.sgiasite.com/2015/03/power-supply.html)

ในที่นี้... เราจะใช้คีมที่มากับเครื่องมือในการทดสอบ
          เมื่อใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบที่พินเรียบร้อยแล้ว ก็เสียบปลั๊กไฟเพื่อทดสอบการหมุนของพัดลมได้เลย
---->> ผลปรากฏว่า....พัดลมที่เราเปลี่ยน ใช้งานได้เป็นปกติดี 

หากมีข้อผิดพลาดประการใด เจ้าของบทความก็ขออภัย ณ โอกาสนี้ด้วยเน้ออออ         
สำหรับวันนี้ก็พอเท่านี้ก่อน แล้วเจอกันในบทความหน้า....นะแจ๊ะ บ๊ะบายยยยย


หมายเหตุ : ควรใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการเปลี่ยนหรือทดสอบ power supply เพราะอาจเกิดอันตรายจากโดนความร้อนจากหัวแร้ง หรือการถูกไฟฟ้าดูดหรือช็อตได้