วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ power supply connector

       
            สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวไอที กลับมาเจอกันอีกครั้ง กับการรีวิวเรื่องไอที้ ... ไอที สำหรับวันนี้เราจะมาทำการรีวิวเกี่ยวกับการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ power supply connector เราก็จะเน้นไปที่สายหลัก ๆ เลย นั่นก็คือ สาย P1 นั่นเอง เราจะมาดูว่าค่าที่เราวัดได้จะตรงกับค่ามาตรฐานที่เขามีมาหรือเปล่า ไปดูกันเล้ยยยย Let's GO.....

อันดับแรกเนาะ...เราก็มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ power supply กันก่อนเลยว่า...มันคืออะไร???
power supply

             Power supply ของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสกลับ 220 โวลต์ (ACV )  เป็นกระแสตรง ( DCV ) 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์แต่ละตัว เพื่อใช้ในการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์

หน้าที่และการทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
          กระแสไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านมาจากโรงไฟฟ้าโดยอยู่ในรูปแบบของไฟสลับแรงดันสูง 220 โวลต์ในบ้าน แต่กระแสไฟที่อุปกรณ์ทุกชนิดที่คอมพิวเตอร์ใช้ (และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทุกชนิด) จะต้องเป็นไฟตรงแรงดังต่ำ หน้าที่ของเพาเวอร์ซัพพลายก็คือจะต้องแปลงไฟสลับแรงดันสูง ให้เป็นไฟตรงแรงดันต่ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องการรวมทั้งจะต้องมีไฟพิเศษและสัญญาณต่าง ๆ

         และเมื่อเรารู้ข้อมูลอย่างคร่าว ๆ ของ power supply กันไปแล้ว ต่อมาเราก็จะเจาะลึกลงไปอีก คือ ใน power supply จะมีสาย connector ต่าง ๆ ซึ่งแต่ล่ะสายก็จะทำหน้าที่จ่ายไฟไปในอุปกรณ์ที่ต่างกัน ดังภาพ
สาย Connector
(อ้างอิง : http://www.plinkusa.net/webps575x.htm)

          และในวันนี้เราก็จะมาทำการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของสาย Connector P1 ซึ่งเป็นสาย ATX Power Connector (20 + 4 Pin) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสายหลัก ๆ ของ power supply เลยก็ว่าได้
ค่าความต่างศักย์แต่ละพินของสาย ATX Power Connector
(อ้างอิง : http://makezine.com/projects/computer-power-supply-to-bench-power-supply-adapter/)

           สำหรับอุปกรณ์วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านั้น ทุกคนคงทราบกันดี คือ "มัลติมิเตอร์ (Multimeter)" ซึ่งเราจะใช้แบบที่ดูได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เรียกว่า มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter, DMM) หรือ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters) นั่นเอง

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeters)

ลักษณะทั่วไปของมัลติมิเตอร์ คือ
        สายวัดมิเตอร์(โพรบ) สีแดงเป็นบวก (+) และสีดำเป็นลบ (-)

การวัดค่าความต่างศักย์ของ Power supply connector

      ก่อนจะทำอะไร ก่อนอื่นเราก็ต้องเปิด Datasheet ก่อนเลย เพื่อความชัวร์ ๆ
Datasheet เกี่ยวกับ power supply connector

      1. ถอด Connector ทุกตัวจากอุปกรณ์ต่างๆ ออก  จะได้ทำการวัดได้สะดวก
      2. ใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้าพินที่ 14 และ 15 หรือสีเขียวกับสีดำที่อยู่ติดกัน (Power switch ON) ดังภาพ

      3. นำสายวัดมิเตอร์สีดำ (-) ต่อลง Ground (กราวด์หรือพินสีดำ) หรืออาจเสียบลงน็อตยึดตัวเคสของ Power supply ก็ได้ เพื่อที่จะสะดวกต่อการวัด ไม่ต้องคอยจับทั้งสองสายวัดพร้อมกัน ดังภาพ 

      4. ปรับค่าพิสัยหรือสเกลวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่แรงดัน DCV  โดยเลือกย่านวัดไปที่ค่าที่สูงกว่าค่าที่เราจะวัด ในที่นี้เราจะปรับไปที่แรงดัน DC 20V เนื่องจากค่าที่มาตรฐานเราวัดจะไม่เกิน 20V ดังนี้
สีของ Pin
Signal
สีม่วง
+5V
สีแดง
+5v
สีเหลือง
+12v
สีส้ม
+3.3 v
สีน้ำเงิน
-12 v


ปรับค่าพิสัยไปที่แรงดัน DC 20V

      5. เสียบปลั๊กไฟ (หรืออาจจะเสียบตั้งแต่ในขั้นตอนที่ 2 ก็ได้ แต่ที่แนะนำให้เสียบในขั้นตอนนี้ก็เพื่อความสบายใจ อิอิ)
ลักษณะการต่ออุปกรณ์การวัดค่าความต่างศักย์

      6. ใช้สายสีแดงแตะหรือเสียบเข้ากับพินที่ต้องการตรวจวัดได้เลย

      7. ค่าที่วัดได้ก็อาจจะคลาดเคลื่อนจากเดิมได้บ้าง ดังตาราง

ค่าที่เราวัดได้จริง
Color
Signal
Pin
Pin
Signal
Color
ค่าที่เราวัดได้จริง
+ 3.39 V
Orange
+ 3.3 V
1
11
+ 3.3 V
Orange
+ 3.39 V
+ 3.40 V
Orange
+ 3.3 V
2
12
- 12 V
Blue
- 10.60 V
Ground
Black
Ground
3
13
Ground
Black
Ground
+ 5.19 V
Red
+ 5 V
4
14
Power on
Green
Power on
Ground
Black
Ground
5
15
Ground
Black
Ground
+ 5.20 V
Red
+ 5 V
6
16
Ground
Black
Ground
Ground
Black
Ground
7
17
Ground
Black
Ground
+ 5.16 V
Grey
8
18
Reserved
N/C

+ 5.19 V
Purple
+ 5 V standby
9
19
+ 5 V
Red
+ 5.18 V
+ 11.71 V
Yellow
+ 12 V
10
20
+ 5 V
Red
+ 5.19 V

  
วีดีโอประกอบการวัดค่าความต่างศักย์ของแต่ละพิน




ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ power supply connector
     - http://www.technologyuk.net/computing/computer_systems/power_supply_unit.shtml
     - http://www.buildcomputers.net/power-supply-connectors.html
     - http://www.playtool.com/pages/psuconnectors/connectors.html#floppy

1 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมมากๆ เข้าใจเทคนิคกาวตรวจเช็คเพาเวอร์ซัพพลายด้วยมิเตอร์
    ต่อไปจะไม่ถอดแล้วเปลี่ยนอย่างเดียวแล้ว.... :-)

    ตอบลบ