อันดับแรกเลย...เราก็มาจัดการเอาเจ้าตัว power supply ออกมาก่อนเลยล่ะกัน
สำหรับอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเปลี่ยนพัดลม power supply คือ
1. หัวแร้ง
2. ตะกั่วบัดกรี และ
3. กระบอกดูดตะกั่ว
เริ่มทำการเปลี่ยนกันเลยดีกว่า.....
ขั้นตอนแรกเลย เราต้องทำการหลอมละลายตะกั่วเพื่อถอดสายไฟออกจากแผงวงจร โดยการใช้หัวแร้งจี้ตะกั่วที่แผงวงจรให้ร้อน ให้ตะกั่วหลอมละลาย แล้วใช้ตัวดูดตะกั่วดูดออก เพื่อให้สายไฟหลุดออกจากแผงวงจร
ก่อนจะดึงสายไฟออกจากแผงวงจร ก็อย่าลืมจำตำแหน่งให้ดี ๆ ด้วยล่ะ เวลาต่อจะได้ไม่ลัดวงจร
---- ป.ล. สายสีดำ (-) อยู่ข้างใน สายสีแดง (+) อยู่ข้างนอก นะแจ๊ะ ----
ในอีกมุมหนึ่ง... จำให้ดี ๆ
หากสายไฟที่เราจะดึงออกมามีที่รัดสายสายไฟอยู่ ซึ่งจะทำให้เราเปลี่ยนพัดลมไม่สะดวก เราก็หาอุปกรณ์มีคม เช่น กรรไกรตัดลม คัตเตอร์ มาตัดที่รัดสายไฟออกก่อน ค่อยดึงพัดลมออกมา
ขัดน๊อตพัดลมเพื่อเอาพัดลมออกมาจาก power supply
จากนั้นเราก็ทำการเปลี่ยนพัดลมได้เลย เมื่อเราจะนำสายไฟของพัดลมตัวใหม่มาเชื่อมเข้ากับแผงวงจร ก็ให้ทำในลักษณะคล้ายกับตอนที่เอาสายไฟออกจากแผงวงจร เพียงแต่เราต้องใช้ตะกั่วบัดกรีเชื่อมเข้าไปด้วย โดยการใช้หัวแร้งจี้ที่ตะกั่วบัดกรีให้ละลายเพื่อให้สายไฟเชื่อมเข้ากับแผงวงจร จะเชื่อมสายสีดำหรือแดงก่อนก็ได้ แต่ระวังอย่าให้ชนหรือติดกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ลัดวงจร
ย้ำ !!! ว่าต้องไม่ติดกัน นะแจ๊ะ....
เมื่อทำการเชื่อมสายไฟเข้ากับแผงวงจรเสร็จ จะมีวิธีทดสอบ power supply คือ การใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้าพินที่ 14 และพินที่ 15 หรือสายสีดำและเขียวที่อยู่ติดกัน ดังภาพ
(อ้างอิง : http://www.sgiasite.com/2015/03/power-supply.html)
ในที่นี้... เราจะใช้คีมที่มากับเครื่องมือในการทดสอบ
เมื่อใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบที่พินเรียบร้อยแล้ว ก็เสียบปลั๊กไฟเพื่อทดสอบการหมุนของพัดลมได้เลย
---->> ผลปรากฏว่า....พัดลมที่เราเปลี่ยน ใช้งานได้เป็นปกติดี
หากมีข้อผิดพลาดประการใด เจ้าของบทความก็ขออภัย ณ โอกาสนี้ด้วยเน้ออออ
สำหรับวันนี้ก็พอเท่านี้ก่อน แล้วเจอกันในบทความหน้า....นะแจ๊ะ บ๊ะบายยยยย
หมายเหตุ : ควรใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการเปลี่ยนหรือทดสอบ power supply เพราะอาจเกิดอันตรายจากโดนความร้อนจากหัวแร้ง หรือการถูกไฟฟ้าดูดหรือช็อตได้
This is just the information I am finding everywhere. Thanks for your blog, I just subscribe your blog. This is a nice blog.. y8y65
ตอบลบ